ใบความรู้ เรื่อง การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นการนำเอาความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม มาใช้ร่วมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลิตผลงานสำหรับแก้ปัญหา หรือนำผลงานมาประยุกต์ในงานจริง นักเรียนจะต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ เพื่อวางแผนการพัฒนา โครงงาน โดยอาจขอคำปรึกษาจากอาจารย์ ผู้สอน หรือผู้ทรงคุณวุฒิอื่น เป้าหมายสูงสุดของการจัดทำโครงงานคือ การที่โครงงานได้ถูกนำไปใช้งานจริง และก่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้นำไปใช้
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการเลือกหัวข้อโครงงานนั้นผู้พัฒนาอาจเริ่มจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับประสบการณ์ ในการคิดค้นถึงสิ่งที่เป็นปัญหา และความเป็นไปได้ในการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยงาน โดยทั่วไปแล้วโครงงานคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท คือ
1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
เป็นการสร้างบทเรียนที่อาจมีแบบฝึกหัดหรือคำถามเพื่อทดสอบด้วย
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
เป็นการพัฒนาโปรแกรมช่วยงานในด้านต่างๆ
3. โครงงานจำลองทฤษฎี
เป็นการพัฒนาโปรแกรมเพื่อจำลองการทดลองในด้านต่างๆที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริได้
4. โครงงานประยุกต์
เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ร่วมกับอุปกรณ์อื่นในการประดิษฐ์สิ่งของหรือปรับปรุเครื่องมือที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
5. โครงงานพัฒนาเกม
เป็นการสร้างเกมเพื่อการศึกษาหรือความบันเทิง
ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการพัฒนาโครงงานนั้น ควรมีการดำเนินการตามลำดับขั้นตอนของการทำโครงงาน เพื่อให้การพัฒนาโครงงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายได้ มีขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน ดังนี้
1.คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
หัวข้อส่วนใหญ่ที่นำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ การสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น ได้จากแหล่งที่ต่างกัน ได้แก่ การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่าง ๆ การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ ข้อมูลข่าวสารจากอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่น ๆ กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน งานอดิเรกของนักเรียน การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
2.ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิจะช่วยให้เกิดแนวคิดในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นและได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษา จนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม
ในการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูลจะต้องได้คำตอบว่า จะทำอะไร ทำไมต้องทำ ต้องการให้เกิดอะไร ทำอย่างไร ใช้ทรัพยากรอะไร ทำกับใคร และจะเสนอผลงานอย่างไร
3.การจัดทำข้อเสนอโครงงาน
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้จัดทำ
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4. ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน
5. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
6. ขอบเขตของโครงงาน
7. ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน
8. แผนการดำเนินโครงงาน
9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
10. งบประมาณ
11. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
12. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
4.พัฒนาโครงงาน
ขั้นตอนของการลงมือพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระหว่างการลงมือพัฒนาโครงงานนั้น สิ่งที่นักเรียนจะต้องมีการบันทึกผล คือ สิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน แล้วนำมาอธิบายผลว่าสัมพันธ์กับหลักการทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้อย่างไร รวมทั้งนักเรียนต้องบันทึก ปัญหา การแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะสำหรับเป็นแนวทางการพัฒนาโครงงานให้สมบูรณ์ เพื่อจัดทำเป็นรายงาน
5.จัดทำรายงาน
ผู้จัดทำต้องทำรายงานไปพร้อม ๆ กัน โดยรายงานโครงงานจะประกอบด้วยรายละเอียดของการพัฒนาและคู่มือการใช้งาน ทั้งนี้เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับทราบแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน
6.การนำเสนอและเผยแพร่
ขั้นตอนที่ผู้จัดทำต้องสื่อสารผลงานของโครงงานในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การจัดนิทรรศการ การรายงานปากเปล่า ซึ่งจะต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย
- การจัดนิทรรศการ ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ความปลอดภัยของการจัดแสดง
2. ความเหมาะสมของเนื้อที่ที่จัดนิทรรศการ
3. ใช้รูปแบบการนำเสนอและการแสดงที่น่าสนใจ สามารถดึงดูดผู้เข้าชมได้
4. ใช้รูปแบบ ตาราง แผนภูมิ และผังต่าง ๆ เข้ามาประกอบการอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
5. อุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่นำมาแสดงจะต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งานทุกขณะ
- การรายงานปากเปล่า ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ต้องเตรียมข้อมูลและทำความเข้าใจในเรื่องที่จะอธิบายได้ดี
2. คำนึงถึงภาษาที่ใช้ในรายงาน ภาษาควรมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย
3. การอธิบาย ควรตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม
4. ควรใช้เวลาในการรายงานให้เหมาะสมตรงตามที่กำหนดไว้
5. ควรใช้สื่อสารสนเทศต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการนำเสนอ เช่น PowerPoint
7.ระยะเวลาในการทำโครงงาน
ใบงาน เรื่อง การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามดังต่อไปนี้ลงในสมุดของนักเรียน
1. โครงงานคอมพิวเตอร์ คืออะไร
2. โครงงานคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
3. ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
4. การจัดทำข้อเสนอโครงงานมีอะไรบ้าง
5. การนำเสนอและเผยแพร่มีอะไรบ้าง
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
8ก.พ.จากการศึกษาประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้จัดทำได้ทราบว่า โครงงานคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท รายละเอียดของแต่ละประเภท มีอะไรบ้าง ทำให้ผู้จัดทำสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสร้างสรรค์ผลงานให้ถูกประเภทยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อโครงงานนั้น ๆ การแบ่งขั้นตอนของการทำโครงงานอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงานและการวางแผนการทำโครงงานในที่นี้จะบ่งการทำงานออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้
1. การคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจทำ
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นักเรียนสามารถจะศึกษาการได้มาของเรื่องที่จะทำโครงงาน การอ่านค้นคว้า การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ การฟังบรรยาย รายการวิทยุโทรทัศน์ สนทนาอภิปราย กิจกรรมการเรียนการสอน งานอดิเรก การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นักเรียนสามารถจะศึกษาการได้มาของเรื่องที่จะทำโครงงาน การอ่านค้นคว้า การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ การฟังบรรยาย รายการวิทยุโทรทัศน์ สนทนาอภิปราย กิจกรรมการเรียนการสอน งานอดิเรก การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้

- จะต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
- สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
- มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
- มีเวลาเพียงพอ
- มีงบประมาณเพียงพอ
- มีความปลอดภัย
- สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
- มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
- มีเวลาเพียงพอ
- มีงบประมาณเพียงพอ
- มีความปลอดภัย
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิช่วยจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดของเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมในเรื่งที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว นักเรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย
จะต้องพิจารณาดังนี้ มูลเหตุจูงใจและเป้าหมายในการทำ วัสดุอุปกรณ์ ความต้องการของผู้ใช้งานและคุณลักษณะของผลงาน (Requirement and Specification) วิธีการประเมินผล วิธีการพัฒนา ข้อสรุปของโครงงาน ความแปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางในการปรับปรุงหรือขยายการทดลองจากงานเดิม
รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิช่วยจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดของเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมในเรื่งที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว นักเรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย
จะต้องพิจารณาดังนี้ มูลเหตุจูงใจและเป้าหมายในการทำ วัสดุอุปกรณ์ ความต้องการของผู้ใช้งานและคุณลักษณะของผลงาน (Requirement and Specification) วิธีการประเมินผล วิธีการพัฒนา ข้อสรุปของโครงงาน ความแปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางในการปรับปรุงหรือขยายการทดลองจากงานเดิม
3. การจัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ จำเป็นต้องกำหนดกรอบแนวคิดและวงแผนการพัฒนาล่วงหน้าเพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ของโครงงาน ขั้นตอนที่สำคัญคือ ศึกษาค้นคว้าเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบการพัฒนา เสนอเค้าโครงของโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข
4. การลงมือทำโครงงาน เมื่อเค้าโครงได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้ เตรียมการ ลงมือพัฒนา ตรวจสอบผลงานและแกไข อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาโครงงานในอนาคต
5. การเขียนรายงาน เป็นสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวความคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมาให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ
6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน เป็นการนำเสนอเพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจในโครงงานนั้น ในการเสนออาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ติดโปสเตอร์ การรายงานตัวในที่ประชุม การแสดงผลงานด้วยสื่อต่าง การจัดนิทรรศการ การอธิบายด้วยคำพูด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น